ฟันล้ม คืออะไร รักษายังไง

ฟันล้ม คือ การเคลื่อนที่ของฟันไปสู่ตำแหน่งที่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อหาสมดุลโดยยึดเกาะฟันอีกซี่ที่อยู่ข้างเคียง ส่วนมากจะพบเจอในผู้ที่เคยจัดฟันมาก่อน แต่หลังจัดเสร็จสักพักหนึ่ง ฟันก็มีการเคลื่อนกลับไปยังจุดเดิม แต่ปัญหานี้ก็สามารถเกิดได้กับทุกคนหากไม่ทำการตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจนำมาสู่ปัญหาหลายอย่างในช่องปากได้

ในบทความนี้ เราจะมาดูสาเหตุของฟันล้ม ว่าเกิดจากอะไร วิธีรักษา และการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคตกัน

สาเหตุ

5 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดฟันล้ม ได้แก่:

  1. ไม่ขยันใส่รีเทนเนอร์: หลังจากจัดฟันเสร็จ ทันตแพทย์จะให้คนไข้ใส่รีเทนเนอร์ไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาตำแหน่งของฟันหลังจัดไว้ หากไม่ขยันใส่รีเทนเนอร์ ก็อาจทำให้ฟันเคลื่อนตัวไปยังตำแหน่งเดิมได้
  2. การเปลี่ยนแปลงของกระดูกขากรรไกร: เมื่อเจริญเติบโต ร่างกายก็จะมีการพัฒนาเปลี่ยนโครงสร้างกระดูก ทำให้ขากรรไกรอาจมีการเปลี่ยนแปลงผิดรูป ส่งผลให้การสบและการเรียงตัวของฟันมีการเปลี่ยนไป
  3. พันธุกรรม: คนไข้บางคนอาจเสี่ยงที่จะเกิดฟันล้มมากกว่าคนอื่นด้วยเหตุผลทางพันธุกรรม
  4. การสูญเสียฟันธรรมชาติ: เมื่อมีการสูญเสียฟันธรรมชาติไป ไม่ว่าจะเป็นจากอุบัติเหตุหรือการถอนฟัน จะเปฺิดโอกาสให้ฟันซี่ข้างๆ มีการเคลื่อนตัวเข้ามาทดแทน ดังนั้นคนไข้ไม่ควรปล่อยให้มีช่องว่างหลังจากเสียฟันไป โดยการรักษาต่างๆ ในกรณีนี้ก็มีหลายอย่าง เช่น การฝังรากเทียม การใส่ฟันปลอม เป็นต้น
  5. โรคเหงือก: โรคเหงือกอักเสบ หรือ โรคปริทันต์ หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา อาจทำให้กระจายลงไปถึงกระดูกขากรรไกร ส่งผลให้กระดูกละลาย และทำให้เพิ่มโอกาสที่ฟันจะมีการขยับตัวได้ง่ายขึ้น
  6. พฤติกรรมในช่องปาก: เช่น การชอบดูดนิ้ว การชอบใช้ลิ้นดุนฟัน หรือแม้กระทั่งภาวะนอนกัดฟัน หรือ Bruxism ก็ทำให้เกิดแรงกดไปที่ตัวฟัน ทำให้ฟันถูกดันเคลื่อนตัวไปที่อื่นได้

ผลกระทบ

3 ผลกระทบหลักที่จะเกิดขึ้น หากไม่ทำการรักษาได้แก่:

  1. ปัญหาด้านความสวยงามและภาพลักษณ์: ฟันล้มทำให้มีการเรียงตัวของฟันที่ดูผิดธรมมชาติ เช่น ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้า 2 ซี่ ส่งผลให้คนไข้ไม่มั่นใจในตนเอง
  2. ปัญหาด้านการใช้งาน: ฟันที่เรียงตัวผิดธรมมชาติหรือไม่เข้ารูป จะส่งผลต่อประสิธิภาพในการใช้งาน ทั้งในเวลาบดเคี้ยวอาหาร และ การพูด ออกเสียงบางคำ นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดโรคข้อต่อขากรรไกรอักเสบและเสื่อมเรื้อรัง (TMD) อันเนื่องมาจากการใช้งานที่ไม่สมส่วนของขากรรไกรเวลาเคี้ยวอาหาร
  3. ปัญหาทางช่องปาก: ฟันที่มีการเรียงตัวกันผิดปกติ เช่น ฟันเก หรือ ฟันซ้อน อาจทำให้ทำความสะอาดได้ยากขึ้น ส่งผลให้เสี่ยงต่อฟันผุและโรคเหงือก

การรักษา

วิธกีการรักษาฟันล้มนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนไข้ และต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ โดยหลักๆ ทันตแพทย์จะเลือกวิธีรักษาดังต่อไปนี้:

1. ใส่รีเทนเนอร์เพื่อประคองฟัน

สำหรับคนไข้ที่เคยจัดฟันมาแล้ว และฟันเพิ่งเริ่มล้ม ทันตแพทย์จะแนำให้คนไข้ใส่รีเทนเนอร์เพื่อทำการประคองฟันไว้ไม่ให้เคลื่อนตัว โดยจะมีตัวเลือก 2 แบบ ได้แก่

  • รีเทนเนอร์ติดแน่น: จะยึดติดกับด้านหลังของฟัน ทำให้ยึดติดกับฟันได้ดี และป้องกันปัญหาการลืมใส่
  • รีเทนเนอร์แบบถอดได้: สามารถถอดออกมาทำความสะอาดหรือเวลาทานอาหารได้

2. จัดฟันรอบสอง

ในกรณีที่ฟันล้มค่อนข้างมาก ทันตแพทย์จะแนะนำให้คนไข้ทำการจัดฟันรอบสอง ซึ่งขั้นตอนการรักษาและราคา ก็จะน้อยกว่าการจัดฟันรอบแรกอย่างมาก โดยในการรักษา ก็จะมีตัวเลือก 2 แบบ ได้แก่:

  • จัดฟันแบบติดแน่น (Traditional Braces): เป็นนการจัดฟันแบบปกติโดยใช้ลวดและและแบรคเก็ตเพื่อช่วยแก้ไขการเรียงตัวของฟันและเคลื่อนให้เข้าตำแหน่งที่ถูกต้อง
  • จัดฟันแบบใส (Clear Aligners): เช่น การใช้ Invisalign ถือเป็นตัวเลือกที่นิยมมากที่สุด เพราะเหมาะกับการรักษาที่มีระยะเวลาที่น้อย และ ราคาของการจัดรอบสองก็จะน้อยกว่าจัดฟันแบบใสครั้งแรกด้วยนวมไปถึงยังสะดวกต่อการถอดทำความสะอาด

3. ใส่ฟันทดแทน

ในกรณีที่คนไข้ได้เสียฟันธรมมชาติไป การใส่ฟันทดแทนเพื่อยึดตำแหน่งของฟันที่หายไปก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษา ซึ่งในปัจจุบัน การฝังรากเทียมนั้น ถือเป็นวิธีการทดแทนฟันที่ดีที่สุด เพราะตัวฟันจะยึดติดแน่นในกระดูก ทำให้สามารถใช้บดเคี้ยวได้เป็นธรรมชาติและะช่วยป้องกันการสลายของมวลกระดูก

ทางเลือกอื่นๆ ที่สามารถใช้ได้ ได้แก่ การใส่ฟันปลอม และ การทำสะพานฟัน แต่กระนั้น ก็อาจไม่สามารถที่จะรักษาฟันล้มในบางกรณีได้ เพราะการรักษาอื่นๆ ไม่ได้มีการยึดติดเข้าไปในตัวกระดูกฟันเหมือนรากเทียม

4 การผ่าตัดขากรรไกร

ในกรณีที่ฟันล้มเกิดจากโครงสร้างขากรรไกรที่ผิดปกติ ทันตแพทย์จะแนะนำให้คนไข้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน เพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งการสบฟันให้ถุกต้อง

การป้องกัน

หากตัดสาเหตุที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น จากพันธุกรรม หรือ โครงสร้างขากรรไกร การป้องกันฟันล้มนั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้:

  1. ขยันใส่รีเทนเนอร์และไปพบทันตแพทย์เพื่อเช็คการเคลื่อนตัวของฟันอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่กำลังจัดฟันอยู่
  2. พบทันแทพย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อเช็คสุขภาพฟันและช่องปาก
  3. คอยรักษาความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอ เช่น แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาโรคเหงือก
  4. ปรึกษาเรื่องพฤติกรรมในช่องปาก กับแพทย์เฉพาะทาง

ปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญ

จากที่ได้อธิบายไปแล้ว ฟันล้มนั้น สามารถเกิดจากหลายสาเหตุได้มาก ซึ่งหากไม่รีบรักษา อาจนำไปสู่ปัญหาในช่องปากที่ใหญ่ขึ้น ดังนั้นแล้ว หากท่านสงสัยหรือไม่แน่ใจว่ามีปัญหานี้อยู่หรือไม่ เราแนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา

ซึ่งทางรวมทันตแพทย์ก็ตอบโจทย์ตรงนี้อย่างมาก เพราะทางเรามีประสบการณ์ด้านทันตกรรมมามากกว่า 15 ปี มีคุณหมอเฉพาะทางด้านทันตกรรมในหลายสาขา ไม่ว่าจัเป็น จัดฟัน หมอด้านเหงือก ที่พร้อมให้คำปรึกษาฟรี และยังมาพร้อมโปรโมชั่นให้เลือกมากมาย และหากคนไข้จำเป็นต้องทำการผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วย เราก็สามารถแนะนำไปยังโรงพยาบาล/ศูนย์รักษาที่น่าเชื่อถือได้ ติดต่อเราวันนี้ โทร: 095-713-0027, 02-428-5814 หรือ LINE ID: @ruamdental

Similar Posts