รากฟันเทียม คืออะไร มีกี่แบบ ข้อควรรู้ก่อนการฝังรากเทียม

รากฟันเทียม คือ วัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อทดทแทนรากฟันจริงที่หายไป โดยจะทำจากไทเทนียม ซึ่งเป็นวัสดุที่ทนทาน เข้าได้ดีกับร่างกายมนุษย์โดยไม่มีผลข้างเคียง ในการรักษา รากเทียมจะถูกฝังลงในไปในกระดูกเพื่อเพื่อทดแทนฟันที่หายไปตั้งแต่ 1 ซี่ จนไปถึงฟันหายทั้งปากหรือ เอามาช่วยในการยึดติดกับฟันปลอม หรือทำฟันปลอมแบบติดแน่น 

ในปัจจุบันการรักษานี้ถือเป็นการทำฟันปลอมที่ดีที่สุด เพราะมีความคล้ายฟันธรรมชาติ ติดแน่น ไม่ต้องถอดออก เข้าได้ดีกับเนื้อเยื้อและเมื่อเมื่อเวลาผ่านไปรากฟันเทียมจะยึดติดกับส่วนเดียวกับกระดูก

เหมาะกับใคร

กาารักษาด้วยการฝังรากฟันเทียมนั้น เหมาะกับ:

  • บุคคลที่ฟันสูญหายจากอุบัติเหตุ หรือการได้รับอาการบาดเจ็บจากแรงกระแทก
  • บุคคลที่สูญเสียฟันทั้งปาก หรือ ด้านใดด้านหนึ่ง
  • บุคคลที่กระดูกกรามละลายหรือได้รับความเสียหายอันเกิดมาจากโรคทางทันตกรรมต่างๆ เช่น โรคเหงือก โดยการฝังรากเทียมจะช่วยรักษามวลกระดูกที่เหลืออยู่และช่วยเร่งการฟื้นฟูกระดูกในร่างกาย
  • บุคคลที่สูญเสีบฟัน และปฏิเสธการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้

ใครไม่เหมาะกับรากเทียม

การฝังรากฟันเทียมไม่ใช่การรักษาที่เหมาะสมกับทุกคน แม้จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทดแทนฟันที่สูญเสีย แต่บุคคลบางกลุ่มอาจมีข้อจำกัดในการรับการรักษานี้ ดังนี้:

  1. ผู้ที่มีปัญหากระดูกขากรรไกรไม่เพียงพอ – หากกระดูกขากรรไกรไม่แข็งแรงพอหรือมีปริมาณน้อยเกินไป รากเทียมอาจไม่สามารถยึดติดได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นคนไข้ต้องทำการเสริมกระดูกให้พอก่อนการรักษา
  2. ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานที่ควบคุมไม่ดี – ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการฟื้นตัวที่ช้ากว่าปกติ
  3. ผู้ที่สูบบุหรี่หนัก – การสูบบุหรี่สามารถขัดขวางกระบวนการฟื้นฟูของร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการรักษา
  4. ผู้ที่มีโรคกระดูกพรุน – โรคนี้ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรงเพียงพอสำหรับการรองรับรากฟันเทียม
  5. ผู้ที่อายุน้อยเกินไป – คนที่อายุน้อยที่กระดูกยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ อาจไม่เหมาะสมสำหรับการรักษา

หลักการทำงานคร่าวๆ

รากฟันเทียมจะเป็นตัวแทนรากฟันธรรมชาติที่เสียไป ซึ่งหลังจากฝังรากฟันเทียม กระดูกจะเจริญเติบโตและยึดรอบๆ รากเทียม ทำให้รากฟันเทียมแข็งแรง สามารถรองรับฟันปลอมที่ติดอยู่ด้านบนได้ดี เปรียบเสมือนฐานที่มั่นคงให้กับตัวเนื้อฟัน นอกจากนี้ การฝังรากฟันเทียมยังช่วยป้องกันการเสื่อมของกระดูกขากรรไกรและช่วยให้การบดเคี้ยวเป็นธรรมชาติมากขึ้นอีกด้วย

ส่วนประกอบ

ส่วนประกอบของตัวรากเทียม ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่:

  1. Implant body (Fixture): คือ ส่วนที่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร เป็นตัวแทนรากฟันจริงและช่วยยึดส่วนอื่นๆ เพื่อความมั่นคง มีลักษณะคล้ายสกรู
  2. Abutment: คือ เป็นตัวกลางช่วยเชื่อมระหว่างตัว Implant body และ ตัวครอบฟันด้านบน
  3. Crown: คือ ส่วนฟันเซรามิกที่ยึดกับตัว Abutment ทำหน้าแทนเนื้อฟันธรรมชาติที่ไว้ใช้บดเคี้ยวอาหาร

แบบรากฟันเทียม

รากฟันเทียม สามารถแบ่งได้ง่ายๆ เป็น 5 แบบ ได้แก่:

  1. แบบ 1 ซี่ (single tooth): เหมาะสำหรับการทดแทนฟัน 1 ซี่ โดยที่ไม่กระทบฟันซี่ข้างๆ เช่น การทำสะพานฟัน ที่ต้องมีการใช้ฟันด้านข้างเป็นตัวยึด
  2. แบบหลายซี่ (multiple dental implants): เหมาะสำหรับการทดแทนฟันหลายซี่ในพื้นที่เดียวกัน โดยที่ยังพอเหลือฟันด้านข้างเพื่อไว้เป็นตัวยึด
  3. แบบฟันหายเป็นจำนวนมาก (implants support bridge): เป็นรากฟันเทียมเพื่อใช้ทดแทนฟันที่สูญหายเป็นจำนวนมากและไม่เหลือฟันด้านข้างไว้เป็นตัวยึด โดยการรักษานี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงมากกว่าเมื่อเทียบกับแค่การรักษาด้วยสะพานฟัน
  4. แบบทดแทนฟันที่หายไปทั้งปาก (implants over denture): เหมาะสำหรับการทดแทนฟันที่หายไปทั้งปากหรือเกือบทั้งหมด
  5. แบบ All on 4: เป็นการฝังรากเทียมด้วยเทคนิคพิเศษ โดยจะฝังรากฟันเทียมจำนวน 4 ซี่ เพื่อช่วยประคองฟันบนหรือฟันล่างทั้งชุด เหมาะผู้ที่ต้องการทดแทนฟันที่หายไปทั้งปากหรือเกือบทั้งหมดแต่ไม่มีมวกระดูกที่มากพอทำแบบ (implants over denture)

ประเภทในการรักษา

นอกจากแบบต่างๆ ที่กล่าวไปแล้ว การฝังรากฟันเทียมนั้น สามารถทำได้ทั้งหมด 4 ประเภท ขึ้นอยู่กับความเมหาะสมในแต่ละเคสคนไข้ ดังนี้:

  1. Conventional Implant: เป็นการรักษาที่นิยมมากที่สุด ซึ่งต้องการกระดูกขากรรไกรที่แข็งแรงเพียงพอ และต้องรอให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกก่อนถึงจะใส่ครอบฟันได้ ใช้เวลาหลายเดือนในการรักษา
  2. Immediate Implant: เป็นการฝังรากเทียทันทีหลังจากการถอนฟันออก ข้อดีคือใช้เวลาน้อยลง แต่มีความเสี่ยงมากกว่าในการที่รากฟันจะไม่ยึดติด
  3. Mini Implant: เป็นรากฟันเทียมที่มีขนาดเล็กกว่าทั้วไป มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีพื้นที่กระดูกน้อย สามารถติดตั้งได้รวดเร็ว แต่เหมาะกับฟันที่มีแรงกดน้อย เช่น ฟันหน้า
  4. Zygomatic Implant: รากเทียมชนิดนี้ถูกฝังในกระดูกโหนกแก้ม เหมาะสำหรับผู้ที่กระดูกขากรรไกรล่างไม่แข็งแรงพอ

ข้อดีของการรักษา

รากฟันเทียม มีข้อดีต่างๆ ดังนี้:

  1. มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติที่สุด
  2. ไม่ส่งผลกระทบกับฟันซี่ข้างเคียง เพราะการรักษานี้ ไม่จำเป็นต้องกรอฟันซี่ข้างเคียงแบบสะพานฟัน
  3. ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจเวลายิ้ม
  4. ช่วยรักษาโครงสร้างของกระดูกขากรรไกร การที่ฟันหายไปจะทำให้กระดูกขากรรไกรยุบตัวลงได้ การทำรากเทียมจะช่วยรักษาโครงสร้างของกระดูกขากรรไกรให้คงอยู่
  5. ช่วยลดปัญหาฟันปลอมหลวม ใช้ช่วยยึดในงานปันปลอม ทำให้มีคุณภาพชีวิต และคุณภาพการเคี้ยวที่ดีขึ้นมาก

การเตรียมตัวก่อนการรักษา

การเตรียมตัวที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การฝังรากฟันเทียมเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย ดังนั้น ควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้:

1. ตรวจสุขภาพทั่วไปและสุขภาพช่องปาก

  • รับการตรวจสุขภาพร่างกายเพื่อยืนยันว่าคุณมีสุขภาพแข็งแรงพอสำหรับการผ่าตัด
  • ตรวจสภาพฟันและเหงือกเพื่อประเมินว่ามีปัญหาที่ต้องรักษาก่อนหรือไม่

2. แจ้งประวัติการแพทย์และยา

  • บอกทันตแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือโรคทางโลหิตวิทยา
  • แจ้งยาที่คุณกำลังรับประทาน โดยเฉพาะยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin)

3. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • หากมีโรคประจำตัวที่อาจส่งผลต่อการรักษา ควรได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน
  • ในบางกรณีอาจต้องปรับยาหรือหยุดยาชั่วคราวตามคำแนะนำของแพทย์

4. เตรียมสุขภาพร่างกาย

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด เนื่องจากสารเหล่านี้อาจส่งผลต่อการหายของแผล

5. การเตรียมจิตใจ

  • หากรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด ควรพูดคุยกับทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
  • ในกรณีที่วิตกกังวลสูง อาจพิจารณาการใช้ยาคลายความกังวลหรือการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

6. การตรวจวัดค่าทางกายภาพในวันผ่าตัด

  • ทันตแพทย์จะวัดความดันโลหิต ค่าความดันควรอยู่ในช่วงที่ปลอดภัย (ไม่ต่ำกว่า 90/60 และไม่สูงกว่า 140/90 มม. ปรอท)
  • หากความดันโลหิตไม่อยู่ในช่วงที่เหมาะสม อาจต้องเลื่อนการผ่าตัด

7. ให้ข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องและครบถ้วน

  • แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการแพ้ยา แพ้อาหาร หรือประสบการณ์ที่ไม่ดีในการผ่าตัดครั้งก่อน
  • ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ทีมแพทย์เตรียมการรักษาได้อย่างเหมาะสม

ขั้นตอนการรักษา

การรักษาด้วยรากฟันเทียมมี 5 ขั้นตอน ดังนี้:

  1. วางแผนการรักษา – ทันตแพทย์จะประเมินสุขภาพช่องปากและความหนาของกระดูกโดยใช้เอกซเรย์ CBCT 3D ร่วมกับใช้ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากการประเมิณสุขภาพของคนไข้ เมื่อประเมินเสร็จแล้ว ทันตแพทย์จะเลือกขนาดของรากเทียมที่จะใช้และแจ้งว่าจำเป็นต้องปลูกกระดูกหรือไม่
  2. ผ่าตัดฝังรากเทียม – การผ่าตัดฝังรากเทียมจะใช้เทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Guide) เพื่อช่วยในการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดมีแผลเล็ก แม่นยำ ปวด บวม น้อย หลังผ่าตัดจะรอให้ตัวรากเทียมยึดติดกับกระดูกประมาณ 4-6 เดือน
  3. รอให้รากเทียมยึดติดกับกระดูก – หลังจากผ่าตัดฝังรากเทียมแล้ว จะต้องรอให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกประมาณ 4-6 เดือน ในระหว่างนี้ ควรดูแลทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งๆ
  4. ใส่ครอบฟันหรือสะพานฟัน – เมื่อรากเทียมยึดติดกับกระดูกแล้ว ทันตแพทย์จะนัดมาพิมพ์ปากหรือสแกนฟันเพื่อทำครอบฟันหรือสะพานฟันบนรากเทียม
  5. ติดตามผลการรักษา – หลังใส่ครอบฟันหรือสะพานฟันแล้ว ควรมาติดตามผลการรักษาทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจดูความแข็งแรงของรากเทียมและครอบฟันหรือสะพานฟัน

การดูแลตัวเองหลังฝังรากฟันเทียม

การดูแลตนเองหลังการฝังรากฟันเทียมมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ดังนั้น ควรปฏิบัติดังนี้:

  1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์
    • รับประทานยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
    • หลีกเลี่ยงการปรับขนาดยาหรือหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  2. ควบคุมการมีเลือดออก
    • หากมีเลือดออกจากแผลผ่าตัด ให้ใช้ผ้าก๊อซสะอาดกดบริเวณนั้นไว้ประมาณ 30 นาที
    • หลีกเลี่ยงการบ้วนปากหรือใช้หลอดดูดใน 24 ชั่วโมงแรก เนื่องจากอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น
  3. ลดอาการบวมและปวด
    • ประคบเย็นบริเวณแก้มด้านนอกที่ใกล้กับแผลผ่าตัดใน 24 ชั่วโมงแรก โดยประคบครั้งละ 15 นาที พัก 15 นาที
    • หลังจาก 24 ชั่วโมง สามารถประคบอุ่นเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
  4. รักษาความสะอาดช่องปาก
    • แปรงฟันอย่างเบามือ หลีกเลี่ยงบริเวณแผลผ่าตัดในช่วงแรก
    • ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์ หรือบ้วนน้ำเกลืออุ่น ๆ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค
  5. การรับประทานอาหาร
    • รับประทานอาหารอ่อนและเย็น เช่น โจ๊ก ซุป หลีกเลี่ยงอาหารร้อน แข็ง หรือเผ็ดจัด
    • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัว แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูด
  6. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก
    • งดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก
    • การออกแรงมากอาจทำให้แผลผ่าตัดกระทบกระเทือนและเลือดออก
  7. งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
    • สารนิโคตินและแอลกอฮอล์สามารถชะลอการหายของแผลและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
    • ควรงดอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์หลังการผ่าตัด
  8. สังเกตอาการผิดปกติ
    • หากมีอาการปวดที่ไม่ทุเลา บวมแดง หรือมีหนอง ควรรีบติดต่อทันตแพทย์
    • ไข้สูงหรืออาการอื่น ๆ ที่ไม่ปกติอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ
  9. การนัดติดตามผล
    • เข้าพบทันตแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินการฟื้นตัวและตรวจสอบความเรียบร้อยของรากฟันเทียม
    • การติดตามผลอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จ
  10. รักษาสุขภาพช่องปากระยะยาว
    • หลังจากแผลหาย ควรดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน
    • เข้ารับการตรวจฟันทุก 6 เดือนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

ราคาและยี่ห้อ

รากฟันเทียมจะมีราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท ต่อซี่ โดยที่ทางเราให้บริการอยู่ จะมีอยู่ทั้งหมด 6 ยี่ห้อ ดังนี้:

  1. Biotem (จากเกาหลี)
  2. Osstem (จากเกาหลี)
  3. Neodent (จากบราซิล)
  4. Ankylos (จากเยอรมนี)
  5. Camlog (จากเยอรมนี)
  6. Straumann (จากสวิตซ์เซอร์แลนด์)

ด้านล่างนี้คือรายละเอียดในส่วนของค่าใช้จ่ายของทางคลินิกเรา:

บริการราคา
CT Xray2,500-3,000 บาท
Korea implant30,000 บาท รวมครอบฟัน based metal with porcelain
Korea Implant35,000 บาท รวมครอบฟัน Zirconia
Neodent Implant by Straumann47,000 บาทรวมครอบฟัน
Ankylos Implant Germany55,000 บาทรวมครอบฟัน
Camlog Implant Germany65,000 บาทรวมครอบฟัน
ITI Straumann Implant75,000 บาทรวมครอบฟัน

ข้อแตกต่างกับฟันปลอมถอดได้

รากฟันเทียมถือเป็นการทำฟันปลอมที่เรียกว่าฟันปลอมติดแน่น เพราะจะถูกฝังเข้ากับกระดูกขากรรไกร และเมื่อเทียบกับฟันปลอมถอดได้แล้ว จะมีข้อแตกต่างหลักๆ ดังนี้:

  • ประสิทธิภาพในการใช้งาน: รากฟันเทียมนั้นมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีกว่าการทำฟันปลอมแบบถอดได้ รวมไปถึงความสะดวกสบายในการใช้งานด้วย เพราะตัวฟันจะยึดติดแน่นในกระดูก ทำให้สามารถใช้บดเคี้ยวได้เป็นธรรมชาติ
  • อายุการใช้งานและการดูแลรักษา: รากเทียมนั้นมีความแข็งแรง ทนทานสูง สามารถใช้งานได้ยาวนาน 10-20 ปี หรืออาจจะตลอดชีวิตหากดูแลรักษาดี นอกจากนี้ วิธีการรักษาทำความสะอาดนั้นก็ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมือนกันการดูแลฟันปกติทั่วไปได้เลย ในขณะที่ฟันปลอมนั้น มีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยประมาณ 5-10 ปี ก่อนที่จะต้องทำการเปลี่ยน และยังมีการดูแลรักาษาที่มากกว่าหลายขั้นตอน เช่น การถอดแช่น้ำไว้ก่อนนอน เป็นต้น
  • ระยะเวลาในการรักษาและฟื้นตัว: การฝังรากเทียมนั้น มีขั้นตอนการรักษาที่ซับซ้อนและเยอะกว่าอย่างมาก และหลังรักษาเสร็จ ก็อาจใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้กระดูกโดยรอบฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ในขณะที่ฟันปลอมนั้น มีเพียงแค่ขั้นตอนการพิมพ์ฟัน และอื่นๆ อีกเล็กน้อย จึงทำให้สามารถรักษาเสร็จได้เร็ว ไม่ซับซ้อน และคนไข้สามารถฟื้นตัวได้ภายในไม่กี่วัน
  • ราคา: รากฟันเทียมนั้นมีค่าใช้ในการรักษาที่สูงกว่าฟันปลอมมาก แต่ในรยะยาวแล้ว รากเทียมอาจเป็นการรักษาที่คุ้มกว่า เพราะแทบไม่ต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ในขณะที่ฟันปลอมอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน ซ่อมแซม และ อื่นๆ เพิ่มเติม

ข้อแตกต่างกับสะพานฟัน

รากฟันเทียมและสะพานฟันเป็นวิธีการทดแทนฟันที่สูญเสียไปแบบติดแน่นเหมือนกัน แต่ทั้งสองก็มีข้อแตกต่างหลักๆ ดังนี้:

  • ความแข็งแรง: รากฟันเทียมจะยึดติดเข้ากับกระดูกขากรรไกร ทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าสะพานฟันที่ต้องใช้ฟันซี่ข้างๆ เป็นตัวยึด
  • ความสวยงาม: รากเทียมจะดูมีความเป็นธรรมชาติมากกว่าสะพานฟัน ที่อาจจะสามารถสังเกตได้ตรงเหงือกเมื่อเวลาผ่านไป
  • อายุการใช้งาน: รากเทียมนั้นมีความแข็งแรง ทนทานสูง สามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยอาจจะตลอดชีวิตหากดูแลรักษาดี ในขณะที่สะพานฟันจะมีอายุการใช้งานประมาณ 10-15 ปี
  • ความสบายในการสวมใส่: รากฟันเทียมจัยึดติดเข้ากับกระดูกเหมือนกับฟันธรรมชาติ ทำให้ไม่มีการขยับเขยื่อนตำแหน่งหรือต้องคอยมานั่งปรับสิ่งต่างๆ ในขณะที่สะพานฟันอาจรู้สึกไม่ค่อยสบายในการสวมใส่ รวมไปถึงอาจมีเศษอาหารเข้าไปติดได้ง่าย
  • ราคา: รากเทียมมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับสะพานฟัน
  • ระยะเวลาในการฟื้นตัว: รากเทียมมีระยะในการฟื้นตัวหลังรักษาเสร็จที่นานกว่าสะพานฟัน

คำถามที่พบบ่อย

1. รากฟันเทียมเจ็บไหม?

ในระหว่างการฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ ทำให้คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บขณะทำการรักษา อย่างไรก็ตาม อาจมีความรู้สึกไม่สบายหลังจากยาชาหมดฤทธิ์ ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวด

2. รากฟันเทียมมีอายุการใช้งานนานแค่ไหน?

รากฟันเทียมที่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องสามารถใช้งานได้ยาวนาน 10-20 ปี หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาช่องปาก

3. รากเทียม เข้า MRI ได้ไหม?

รากฟันเทียมที่ทำจากไทเทเนียมสามารถเข้าเครื่อง MRI ได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากไทเทเนียมเป็นวัสดุที่ไม่เป็นแม่เหล็ก จึงไม่มีปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของเครื่อง MRI อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีส่วนประกอบโลหะอื่นๆ ในร่างกาย ควรแจ้งแพทย์ก่อนการตรวจ MRI เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมในกรณีเฉพาะ

4. ต้องมีอายุเท่าไหร่จึงจะทำการรักษานี้ได้?

รากฟันเทียมเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เพื่อให้กระดูกขากรรไกรเจริญเติบโตเต็มที่

5. ผู้สูบบุหรี่สามารถฝังรากฟันเทียมได้หรือไม่?

ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงต่อการล้มเหลวของรากฟันเทียม แต่สามารถทำได้หากปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด

ตัวอย่างเคสคนไข้

แพทย์ของเรา

ทางรวมทันตแพทย์คลินิกมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรากฟันเทียมที่มีประสบการณ์การรักษามามากกว่า 20 ปี โดยการรักษาทั้งหมด ทำโดยแพทย์เฉพาะทางที่จบจากมหาลัยดังๆ เช่น จุฬา มหิดล

ติดต่อ รวมทันตแพทย์คลินิก

  • เวลาทำการ: วันจันทร์-อาทิตย์: 09:00 – 19:00
  • ที่ตั้งคลินิก: 810 ระหว่างซอยประชาอุทิศ 17-19 เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140 (จากปากซอยประชาอุทิศ ให้สังเกตสะพานลอยที่ 2 เลยขึ้นมา 100 เมตร จะสังเกตเห็นรวมทันตแพทย์คลินิก)
  • จอดรถ: ตลาดนัดราษฎร์บูรณะ
  • โทร: 095-713-0027, 02-428-5814
  • LINE ID: @ruamdental