ฟันแตก คืออะไร รักษายังไง

ฟันแตก คือการที่มีชิ้นส่วนบางชิ้นของฟันบิ่นหรือแตกออกมาจากตัวฟัน โดยอาจแตกมาเป็นรู มีลักษณะแหลมผิดรูป หรือ เกิดรอยแยกบนฟัน สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ฟันหน้าจนไปถึงฟันกราม ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ทำการบูรณะ อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟัน หรือฟันผุจนไปถึงโพรงประสาท ทำให้อาจต้องเสียฟันไปในที่สุด

ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า ฟันแตกเกิดจากอะไร อาการเป็นยังไง และมีวิธีการรักษาแบบไหนบ้าง

สาเหตุ

ฟันแตกสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดย 5 เหตุผลหลักๆ ได้แก่:

  1. อุบัติเหตุต่่างๆ ที่ทำให้ฟันได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง เช่น หกล้ม เป็นต้น
  2. การเคี้ยวของแข็ง เช่น ถั่ว น้ำแข็ง ลูกอม
  3. ฟันที่ผุมากจนทำให้เนื้อฟันเปราะบาง
  4. พฤติกรรมการนอนกัดฟัน (Bruxism) หรือ ชอลกัดแทะสิ่งต่างๆ ทำให้ฟันได้รับการกระทบกระเทือนบ่อยๆ จนอาจทำให้ฟันแตกหักได้
  5. การไม่หมั่นดูแลทำความสะอาดฟัน ทำให้เกิดการสะสมของคราบพลัค อันนำไปสู่การกัดกร่อนเนื้อฟัน ทำให้ฟันเปราะบางและเสี่ยงในการแตกหักง่าย

อาการ

อาการต่างๆ จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าฟันได้แตกไปมากน้อยขนาดไหน โดยอาการคร่าวๆ มีดังนี้:

  • มองเห็นเนื้อฟันที่แตก หรือ สามารถสัมผัสถึงพื้นผิวฟันที่ดูผิดธรมมชาติ
  • มีอาการปวดหน่วงๆ หรือ ปวดร้าวเมือถูกใช้งานหรือเมื่อได้มีการสัมผัสกับอาหารหรือเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น
  • มีอาการเสียวฟันเมื่อได้มีการสัมผัสกับอาหารหรือเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น
  • ตัวฟันมีพื้นผิวที่แหลมจนอาจบาดลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
  • มีอาการบวมที่เหงือกหรือฟันโดยรอบ

ลักษณะที่ควรไปพบแพทย์

3 ลักษณะของฟันแตก ที่ควรไปพบทันตแพทย์ มีดังนี้:

  1. แตกเป็นรู: ฟันแตกที่เป็นรู อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การกัดของแข็ง วัสดุอุดฟันที่หลุด หรือ ฟันผุ
  2. แตกครึ่ง: จะมีลักษณะที่ฟันแตกร้าวจากพื้นผิวฟันด้านนอก ยาวไปถึงรากฟัน ทำให้ฟันแตกเป็น 2 ส่วน (Split Tooth) โดยส่วนมาก จะมีอาการปวดและเสียวฟันร่วมด้วย
  3. แตกแนวดิ่งจากราก: จะมีลักษณะที่ฟันแตกจากรากขึ้นไปยังพื้นผิวฟันด้านบน โดยส่วนใหญ่คนไข้จะยังไม่มีอาการจนกว่ากระดูกและเหงือกโดยรอบจะอักเสบและเกิดการติดเชื้อ

การรักษา

ขึ้นอยู่กับลักษณะและการแตกของฟัน ทันตแพทย์จะเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้:

  1. อุดฟัน: สำหรับฟันที่แตกไม่มาก แพทย์จะเลือกทำการอุดฟันด้วยวัสดุเรซิ่นสีเดียวกับฟัน เพื่อเสริมความแข็งแรงไม่ให้ฟันแตกไปมากกว่าเดิม
  2. แปะวีเนียร์: สำหรับฟันที่แตกค่อนข้างเยอะ แพทย์อาจเลือกทำการแปะวีเนียร์ ซึ่งจะช่วยปิดรอยแตกได้เป็นอย่างดีรวมไปถึงเสริมความแข็งแกร่งให้กับเนื้อฟันที่เหลือ ซึ่งวีเนียร์ คือ การใช้ที่เคลือบฟันเทียมมาแปะบนผิวฟัน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามวัสดุที่ใช้ ได้แก่ วีเนียร์คอมโพสิตและเซรามิก
  3. การครอบฟัน: ในกรณที่ฟันแตกหรือหักเป็นวงกว้างจนเนื้อฟันเหลือน้อย แพทย์จะทำการรักษาด้วยการครอบฟัน ซึ่งจะเป็นการใช้วัสดุที่สีเหมือนกับฟันครอบทับฟันที่เสียหายเหมือนใส่หมวกครอบลงไป
  4. รักษารากฟัน: ในกรณที่ฟันแตกจนไปถึงรากฟัน แพทย์จะต้องทำการรักษาร่วมกับการครอบฟัน เพื่อเอาเนื้อฟันที่อักเสบและติดเชื้อออก แล้วจึงใช้ครอบฟันเพื่อป้องกันฟันส่วนที่เหลือให้สามารถใช้งานได้ต่อไป
  5. การถอนฟัน: ในกรณีที่ไม่สามรถบูรณะและช่วยฟันที่เสียหายไว้ได้ การถอนฟันจะเป็นทางเลือกสุดท้าย โดยอาจมีการฝังรากเทียมหรือใช้ฟันปลอมร่วมด้วย เพื่อให้สามารถใช้งานในการบดเคี้ยวต่อไปได้ รวมไปถึงป้องกันฟันล้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

รักษากับเรา

จากที่ได้อธิบายไป ฟันแตก หากปล่อยไว้ อาจกลายเป็นปัญหาในช่องปากที่ใหญ่ขึ้นได้ หรือ อาจจะเกิดมาจากปัญหาที่มองไม่เห็น ดังนั้นแล้ว จึงควรรีบทำการรักษา เพื่อแก้ไขแต่เนิ่น ก่อนที่จะสายเกินไป

ซึ่งทางรวมทันตแพทย์คลินิกของเรา ก็ตอบโจทย์ตรงนี้อย่างมาก เพราะทางเรามีประสบการณ์ด้านทันตกรรมมามากกว่า 15 ปี มีคุณหมอเฉพาะทางด้านทันตกรรมในหลายสาขา ไม่ว่าจัเป็น ทันตกรรมทั่วไป หมอด้านวีเนียร์และความสวยงาม และอื่นๆ ที่พร้อมให้คำปรึกษาฟรี และยังมาพร้อมโปรโมชั่นให้เลือกมากมาย ติดต่อเราวันนี้ โทร: 095-713-0027, 02-428-5814 หรือ LINE ID: @ruamdental

Similar Posts